1037
1. นโยบายการพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและนันทนาการ
มีแนวนโยบายการจัดการศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน พัฒนาการศึกษาทั้งในและนอกระบบสนับสนุนให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในวัฒนธรรมจารีตประเพณีและสร้างเสริมจิตสำนักให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมพร้อมการอนุรักษ์เอกลักษณ์ที่ดีงามของท้องถิ่น ส่งเสริมกิจกรรมทางศาสนาทุกศาสนาส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาความสามารถด้านกีฬาแก่เยาวชนและชุมชนอย่างทั่วถึงและมีระบบ ดูแลกิจกรรมด้านนันทนาการ ดนตรีพื้นบ้าน โดยให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมทั้งเด็ก สตรี เยาวชน และผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส เน้นกระบวนการมีส่วนร่วม การเรียนรู้ร่วมกัน โดยมีแนวทางการพัฒนาคือ
1.1จัดศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้เป็นสัดส่วน มีระบบและมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของชุมชนส่งเสริมและสนับสนุนคุณภาพทางการศึกษา ตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ของโรงเรียนในพื้นที่เทศบาลตำบลกรูด พร้อมส่งเสริมนักเรียนที่มีความเป็นเลิศในด้านการเรียน
1.2 ทุกชุมชน หมู่บ้าน มีศูนย์ข้อมูลข่าวสารที่ประชาชนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา พร้อมส่งเสริมสนับสนุนและบูรณาการวัฒนธรรมแบบไทยๆ ให้ความสำคัญแก่สถาบันทางศาสนาทุกศาสนา สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างมีระบบ อนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นที่มีมาแต่โบราณที่ดีงาม
1.3 ส่งเสริมสนับสนุนการกีฬาและนันทนาการต่างๆ จัดตั้งศูนย์เยาวชนเทศบาลตำบล กรูดและเสริมสร้างประสบการณ์ในการดำเนินงานต่างๆ การจัดตั้งชมรมกีฬาและนันทนาการ จัดหารและบำรุงอุปกรณ์กีฬา สถานที่ออกกำลังกายและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
1.4 ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมในกีฬาประเภทต่างๆเพื่อให้ประชาชน เยาวชน ผู้สูงอายุ สตรี ผู้ด้อยโอกาส ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน
- นโยบายการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
มีแนวนโยบายมุ่งเน้นที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างมีระบบเร่งรัดพัฒนาด้านสาธารณูปโภคสาธารณูปการและมีการบริหารสาธารณะในทุกด้านให้มีคุณภาพที่มีมาตรฐาน สนองตอบต่อการพัฒนาศักยภาพและสภาพแวดล้อมทางกายภาพของเมือง อันจะเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มความสะดวกในการดำรงชีวิต การคมนาคมสัญจร และการประกอบอาชีพของประชาชนโดยมีแนวทางในการพัฒนาคือ
2.1 การพัฒนาระบบผังเมืองเพื่อรองรับความเจริญในโอกาสต่อไป การควบคุมอาคาร ระบบการจราจร ถนนสายหลัก สายรอง สะพาน ท่อระบายน้ำ การบำรุงรักษาสิ่งสาธารณูปโภคสาธารณูปการ สิ่งก่อสร้างอื่นๆ พร้อมการปรับภูมิทัศน์ของเทศบาล หมู่บ้าน ชุมชน วัด มัสยิด และที่สาธารณะ
2.2 พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน ของทุกหมู่บ้าน สร้างเครือข่ายเชื่อมโยงกับทุกตำบล
2.3 ดูแลและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในระบบไฟฟ้าประปา ถนน ให้ ประชาชนได้รับการบริการอย่างทั่วถึงมากที่สุดตามความจำเป็นและถูกหลักของ พรบ.เทศบาลนโยบายด้านสาธารณสุข
3.ด้านคุณภาพชีวิต ด้านสังคมและชุมชน
มีนโยบายวางแผนมุ่งเน้นแนวทางในการส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟู พร้อมทั้งการยกระดับคุณภาพของประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาพอนามัยแข็งแรงสมบูรณ์ ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปลอดภัยจากโรค ดูแลรักษาความสะอาดของชุมชนทั้งด้านขยะและมลพิษ ส่งเสริมการสนับสนุนความเข้มแข็งของชุมชน หมู่บ้าน เน้นการมีส่วนร่วม โดยมีแนวทางในการพัฒนา คือ
3.1 ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีสุขภาพที่แข็งแรง โดยเน้นการมีส่วนร่วมเป็นรูปแบบเครือข่ายมีการออกคลินิกเคลื่อนที่ ตรวจรักษาสุขภาพในกรณีเกิดโรคร้ายแรงเร่งด่วน
3.2 จัดฝึกอบรมสร้างแกนนำประจำครัวเรือนที่รับผิดชอบเพื่อการแก้ปัญหาสุขภาพแก่ ประชาชนเป็นการเบื้องต้น พร้อมการสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ที่จำเป็นแก่แกนนำหรือชุมชน หมู่บ้าน
3.3 จัดสร้างสถานที่ออกกำลังกายประจำชุมชนพร้อมวัสดุอุปกรณ์ ที่ใช้ในการออก กำลังกายเพื่อประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดีและได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
3.4 จัดตั้งศูนย์กู้ชีพ กู้ภัย อปพร. อส.ตชต. พร้อมกับการจัดตั้งป้อมยามสายตรวจ ประจำหมู่บ้านและจัดฝึกอบรมให้ความรู้ในการปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชนเป็นการเบื้องต้น พร้อมกับการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์จำเป็นเบื้องต้น
3.5 จัดตั้งศูนย์ประสานงานระดับชุมชน หมู่บ้าน เทศบาลในการรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะจากประชาชน เพื่อเป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้นำไปสู่การจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล
3.6 จัดตั้งกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ติดเชื้อเอดส์ ผู้ด้อยโอกาส เพื่อการทำกิจกรรมร่วมกันพร้อมกับการสนับสนุนบุคลากร งบประมาณและอื่นๆตามความจำเป็น
4. นโยบายด้านเศรษฐกิจ กลุ่มอาชีพและการท่องเที่ยว
มีแนวนโยบายที่จะส่งเสริมในการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นฐานของครัวเรือนและชุมชน เพื่อสร้างความมั่นคงในด้านการประกอบอาชีพและยกระดับรายได้ให้แก่ประชาชนในชุมชนอย่างยั่งยืน โดยยึดหลักในแบบเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาเพิ่มศักยภาพของเกษตรทั้งในด้านการผลิตให้มีคุณภาพที่มาตรฐาน ปรับปรุงศักยภาพการจัดเก็บรายได้ โดยมีแนวทางในการพัฒนาคือ
4.1สนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มอาชีพทุกกลุ่มที่มีในเขตเทศบาลตำบลกรูด พร้อมกับ ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการฝึกอบรม กระบวนการเรียนรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพในการนำไปสู่การปฏิบัติจริง
4.2 พัฒนาส่งเสริมสินค้าเกษตรชุมชนให้เป็นรูปแบบเศรษฐกิจชุมชนพอเพียงแบบยั่งยืน โดยใช้แนวทางตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียง
4.3 จัดตั้งกลุ่มตลาดกลางเพื่อประกันราคาสินค้าทางด้านการเกษตร พร้อมส่งเสริม สนับสนุนกลุ่มให้มีความเข้มแข็งเพิ่มศักยภาพในการผลิตให้ได้มาตรฐาน เพื่อเป็นการสร้างงาน รายได้ให้กับชุมชน
4.4 ปรับปรุง ฟื้นฟูสถานที่สาธารณะที่สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ พร้อมกับการเพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่ดึงดูดใจแก่นักท่องเที่ยวและผู้สนใจ
4.5 จัดทำโครงการสร้างแรงจูงใจในการชำระภาษี พร้อมกับการออกบริการเคลื่อนที่ แก่ประชาชนผู้เสียภาษีในหมู่บ้านและชุมชน พร้อมกับการให้คำปรึกษาภาษีอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
5.นโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มีแนวนโยบายมุ่งเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับชุมชน ในการบำรุงรักษา ดูแลบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนพัฒนาเทศบาลให้เป็นเทศบาลที่น่าอยู่ น่าอาศัย โดยมีแนวทางในการพัฒนา คือ
5.1 จัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาล พร้อมกับการ ให้ความรู้แก่ประชาชน เยาวชน นักเรียน และการสร้างจิตสำนึกและตระหนักในการรักษา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.2 เสริมสร้างกระบวนการมีส่วนในการใช้ การดูแลและการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ อย่างมีคุณค่าพร้อมกับการป้องกัน การบำบัดและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.3 ให้ความรู้แก่ประชาชน เยาวชน นักเรียน พร้อมกับการสร้างจิตสำนึกและตระหนึกในการกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูล โดยสามารถคัดแยกแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ พร้อมรณรงค์เรื่องการใช้สารเคมี สารพิษ วัตถุอันตรายที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ ปรับปรุงแหล่งน้ำ ขุดลอกแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค และเพื่อการเกษตร
5.4 เพื่อป้องกันน้ำท่วม ปรับปรุงที่สาธารณะที่เป็นแหล่งอนุรักษ์เชิงนิเวศน์แบบยั่งยืน
6. นโยบายด้านการเมืองและบริหาร
มีแนวนโยบายมุ่งเน้นที่จะพัฒนาตามระบบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ตามมาตร 87บัญญัติให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาท้องถิ่น ที่มีอยู่ร่วมกันทั้งในระดับหมู่บ้าน ชุมชน อำเภอ จังหวัด และระดับประเทศในทุกๆด้านตลอดจนมุ่งเน้นให้องค์กรได้ใช้หลักการบริหารราชการตามหลักธรรมาภิบาลในการบริการประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด โดยมีแนวนโยบายในการพัฒนา คือ
6.1 ส่งเสริมสนับสนุนการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย โดยใช้หลักปกครองธรรมาภิบาลในการปกครองโดยมุ่งเน้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของเทศบาล ยึดหลักสุจริต โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้
6.2 ใช้หลักการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี 6 ประการคือ
6.2.1 หลักการมีส่วนร่วมทุกฝ่าย
6.2.2 หลักการโปร่งใสตรวจสอบได้
6.2.3 หลักการมีคุณภาพ
6.2.4 หลักการมีคุณธรรม
6.2.5 หลักการมีความรับผิดชอบ
6.2.6 หลักมีคุณธรรม
6.3 พัฒนาและปรับปรุงการให้บริการแก่ประชาชนผู้มาติดต่อราชการแบบเบ็ดเสร็จ สะดวก รวดเร็ว ลดขั้นตอนการทำงานและการบริหาร ให้บริการเท่าเทียมกัน ไม่เลือกปฏิบัติ
6.4 จัดฝึกอบรมเพิ่มความรู้ความสามารถแก่บุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ผู้นำ ผู้บริหารเทศบาล สมาชิกสภาและสร้างขวัญกำลังใจ ความสามัคคี ให้เกิดขึ้นภายในองค์กร สร้างจิตสำนึกที่ดีต่อการปฏิบัติหน้าที่การงาน
6.5 ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดเวทีประชาคมในทุกระดับ ทุกชุมชน ทุกหมู่บ้าน พร้อมการเผยแพร่ข่าวสารของเทศบาล และการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารให้มีความทันสมัย รวดเร็ว
6.6 ปรับปรุงและพัฒนารายได้ของเทศบาล โดยการนำระบบแผนที่ภาษีและทรัพย์สิน มาพัฒนาจัดเก็บรายได้ต่างๆที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ และปรับปรุงแหล่งรายได้ ระบบการจัดเก็บภาษี เงินรายได้อื่นๆ