Background



ข่าวประชาสัมพันธ์
คุยเฟื่องเรื่องกระท่อม
12 พฤษภาคม 2563

2538


ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และโทษของ “พืชกระท่อม”
ในกลุ่มเป้าหมายประชาชนทั่วไป
………………………………….

1. “กระท่อม” เป็นไม้ยืนต้น เป็นพืชธรรมชาติ พบมากบริเวณภาคใต้ของไทย กระท่อมมีชื่อเรียกอื่นๆ ว่า ท่อม อีถ่าง กระทุ่ม
โคก ดอยโคน มีสารสําคัญ คือ
“สารไมตราเจนีน” ซึ่งออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ถ้าใช้เป็นเวลานานๆ ร่างกายจะซูบ
ผอม ผิวดําเกรียม ท้องผูกเรื้อรัง ปวดเมื่อยตามตัว นอนไม่หลับและประสาทหลอนได้
2.
“กระท่อม” ถือเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติด ให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 แต่สามารถ
นํามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ และการศึกษาวิจัยได้ แต่ห้ามเสพ เว้นการเสพเพื่อรักษาโรคตามคําสั่งของแพทย์ หรือเป็นการ
เสพเพื่อการศึกษาวิจัยเท่านั้น
3.
“กระท่อม” ตามข้อตกลงของสหประชาชาติ (UN) ไม่ได้กําหนดให้เป็นยาเสพติดหรือสิ่งผิดกฎหมาย และประเทศส่วน
ใหญ่ ก็ไม่ได้กําหนดให้กระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษ
ดังนั้น หากถอดกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษ จะสามารถ
ส่งเสริมการศึกษาวิจัยและการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้มากยิ่งขึ้น
4.
เหตุผลของการปรับพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติด เนื่องจาก “ประเทศไทยมีการศึกษาวิเคราะห์แนวทาง การใช้
ประโยชน์จากพืชกระท่อมมาอย่างต่อเนื่อง พบว่าพืชกระท่อมมีฤทธิ์เสพติด แต่ส่งผลต่อร่างกายไม่รุนแรง มีประโยชน์ทาง
การแพทย์ และสามารถนํามาใช้ในเชิงเศรษฐกิจได้” และที่ผ่านมา ผลจากการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการยกเลิกพืช
กระท่อมออกจากบัญชียาเสพติด ภาพรวมของการแสดงความคิดเห็น ประชาชนเห็นด้วย 95 % และไม่เห็นด้วยเพียงแค่ 5%
5.
“กระท่อม” มักถูกวัยรุ่นนํามาใช้แบบผิดๆ ในรูปของ 4 x 100 โดยนํากระท่อมผสมกับยาเสพติด หรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิต
และประสาทอื่นๆ หรือสารอื่นๆ ซึ่งมีความผิด
ฐานผลิตยาเสพติดหรือวัตถุออกฤทธิ์ และเมื่อเสพสารผสมนั้นเข้าสู่ร่างกายจะมีความผิดฐานเสพยาเสพติดหรือวัตถุออกฤทธิ์เช่นกัน นอกจากนี้ยังเกิดพิษต่อร่างกายทําให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของผู้เสพได้ จากภาวะยาเกินขนาด หรือการออกฤทธิ์ของสารที่เสริมกันหรือฤทธิ์ต่างกัน เช่น เกิดอาการชัก กล้ามเนื้อหัวใจ ขาดเลือดเฉียบพลัน หายใจช้าหรือหยุดหายใจ เป็นต้น