2229
ด้วยรัฐบาลได้ให้นโยบายแก้ไขปัญหาภัยแล้งเป็นเรื่องสำคัญโดยให้ทุกภาคส่วน ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ตามที่มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2537 เห็นชอบให้ วันที่ 7-14 มกราคม ของทุกปี เป็นสัปดาห์รณรงค์ สำรวจ ซ่อมและสร้างภาชนะ เก็บน้ำประจาปี เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการจัดเตรียมภาชนะเก็บน้ำในการสารองไว้ใช้ในฤดู แล้งอย่างเพียงพอ และเพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมและการประชาสัมพันธ์ องค์การ บริหารส่วนตาบลกรูด ได้จัดให้มีการรณรงค์ และประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบ และ |
ขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนให้การสนับสนุนกิจกรรม
1. สำรวจและซ่อมแซมภาชนะเก็บน้ำพร้อมฝาปิดครัวเรือนให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ และเก็บสารองน้ำไว้อุปโภค บริโภค ในภาวะขาดแคลนน้ำ |
2. สร้างหรือซื้อภาชนะเก็บน้ำของครัวเรือนเพิ่มเติมให้พอเพียงต่อการ อุปโภค / บริโภค ของครอบครัว 3. วางระบบการให้น้ำอุปโภค / บริโภคอย่างประหยัด เพื่อให้มีไว้ใช้ตลอดฤดูแล้ง |
การสร้างจิตสานึก |
1.การใช้น้ำอย่างประหยัด และตระหนักถึงคุณค่าของน้ำ |
การมีส่วนร่วมของประชาชน |
1. การซ่อมแซม ทาความสะอาดภาชนะและกักเก็บน้ำไว้ใช้ในภาวะขาดแคลนน้ำ 2. การขอรับบริจาคภาชนะเก็บน้ำจากผู้มีจิตศรัทธา 3. ให้ความร่วมมือกับภาครัฐ/องค์กร เอกชน ในการจัดกิจกรรมเดินรณรงค์ให้ความรู้ |
1. ใช้น้ำอย่างประหยัด หมั่นตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำ เพื่อลดการสูญเสียน้ำอย่างเปล่า ประโยชน์ 2. ไม่ควรปล่อยให้น้ำไหลตลอดเวลาตอนล้างหน้า แปรงฟัน โกนหนวด และถูสบู่ตอน อาบน้ำ เพราะจะสูญน้ำไปโดยเปล่าประโยชน์ นาทีละหลายๆ ลิตร 3. ใช้สบู่เหลวแทนสบู่ก้อนเวลาล้างมือ เพราะการใช้สบู่ก้อน ล้างมือจะใช้เวลามากกว่าการ ใช้สบู่เหลว และการใช้สบู่เหลว ที่ไม่เข้มข้น จะใช้น้ำน้อยกว่าการล้างมือด้วยสบู่เหลวเข้มข้น 4. ซักผ้าด้วยมือ ควรรองน้ำใส่กะละมังแค่พอใช้ อย่าเปิดน้ำไหลทิ้งไว้ตลอดเวลาซัก เพราะ สิ้นเปลืองกว่าการซักโดยวิธีการขังน้ำไว้ในกะละมัง |
5. ใช้ Sprinkler หรือฝักบัวรดน้ำต้นไม้แทนการฉีดน้ำด้วยสายยาง จะประหยัดน้ำได้ |
มากกว่า |
6. ไม่ควรใช้สายยางและเปิดน้ำไหลตลอดเวลาในขณะที่ล้างรถ เพราะจะใช้น้ำมากถึง 400 ลิตร แต่ถ้าล้างด้วยน้ำและฟองน้ำในกระป๋อง หรือภาชนะบรรจุน้ำ จะลดการใช้น้ำได้มากถึง 300 ลิตร ต่อการล้างหนึ่งครั้ง 7. ไม่ควรล้างรถบ่อยครั้งจนเกินไป เพราะนอกจากจะมีความสิ้นเปลืองน้ำแล้ว ยังทาให้เกิด สนิมที่ตัวถังได้ด้วย 8. ตรวจสอบท่อน้ำรั่วภายในบ้าน ด้วยการปิดก๊อกน้ำทุกตัว ภายในบ้าน หลังจากทีทุกคน เข้านอน (หรือเวลาที่แน่ใจว่า ไม่มีใครใช้น้ำระยะหนึ่งจดหมายเลขวัดน้ำไว้ ถ้าตอนเช้ามาตรเคลื่อนที่ โดยที่ยังไม่มีใครเปิดน้ำใช้ ก็เรียกช่างมาตรวจซ่อมได้เลย) 9. ควรล้างพืชผักและผลไม้ในอ่างหรือภาชนะที่มีการกักเก็บน้ำ ไว้เพียงพอ เพราะการล้าง ด้วยน้ำที่ไหลจากก๊อกน้ำโดยตรง จะใช้ น้ำมากกว่า การล้างด้วยน้ำที่บรรจุไว้ในภาชนะถึงร้อยละ 50 10. ตรวจสอบชักโครกว่ามีจุดรั่วซึมหรือไม่ ให้ลองหยดสีผสมอาหาร ลงในถังพักน้ำ แล้ว สังเกตดูที่คอห่าน หากมีน้ำสีลงมาโดยที่ไม่ได้กด ชักโครก ให้รีบจัดการซ่อมได้เลย |
11. ไม่ใช้ชักโครกเป็นที่ทิ้งเศษอาหาร กระดาษ สารเคมีทุกชนิด เพราะจะทาให้สูญเสียน้ำ จากการชักโครก เพื่อไล่สิ่งของลงท่อ 12. ใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำ เช่น ชักโครกประหยัดน้ำ ฝักบัว ประหยัดน้ำ ก๊อกประหยัดน้ำ หัวฉีดประหยัดน้ำ เป็นต้น |
13. ติด Areator หรือ อุปกรณ์เติมอากาศที่หัวก๊อก เพื่อช่วย เพิ่มอากาศให้แก่น้ำที่ไหลออก จากหัวก๊อก ลดปริมาณการไหลของน้ำ ช่วยประหยัดน้ำ 14. ไม่ควรรดน้ำต้นไม้ตอนแดดจัด เพราะน้ำจะระเหยหมดไปเปล่าๆ ให้รดตอนเช้าที่อากาศ ยังเย็นอยู่ การระเหยจะต่ำกว่าช่วยให้ประหยัดน้ำ 15. อย่าทิ้งน้ำดื่มที่เหลือในแก้วโดยไม่เกิดประโยชน์อันใด ใช้รดน้ำต้นไม้ ใช้ชาระพื้นผิว ใช้ ชาระความสะอาดสิ่งต่างๆ ได้อีกมาก 16. ควรใช้เหยือกน้ำกับแก้วเปล่าในการบริการน้ำดื่ม และให้ผู้ที่ต้องการดื่มรินน้ำดื่มเอง และควรดื่มให้หมดทุกครั้ง 17. ล้างจานในภาชนะที่ขังน้ำไว้ จะประหยัดน้ำได้มากกว่าการ ล้างจานด้วยวิธีที่ปล่อยให้น้ำ ไหลจากก๊อกน้ำตลอดเวลา 18. ติดตั้งระบบน้ำให้สามารถใช้ประโยชน์จากการเก็บและจ่ายน้ำ ตามแรงโน้มถ่วงของโลก เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้พลังงานไปสูบและจ่ายน้ำภายในอาคาร 19. เตรียมก่อสร้าง /ปรับปรุง/ ซ่อมแซมทาความสะอาดภาชนะเก็บน้ำไว้ให้เพียงพอต่อ ความต้องการ ตลอดจนระบบประปาหมู่บ้าน |
ด้วยความปรารถนาดีจาก เทศบาลตำบลกรูด อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โทร./โทรสาร. 077-297189 |